วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การช่วยฟื้นคืนชีพ 3


การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
1.       ตรวจสอบการหมดสติ มื่อพบคนนอนอยู่คล้ายหมดสติต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่โดยการเรียกและเขย่าตัวเขย่าหรือตบที่ไหล่ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบหรือมีเสียงครางหรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย
 
 
 
2.       ประเมินการหายใจ ดยการทำ look listen and feel
   - look 
คือดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่หรือหายใจหรือไม่
   - listen คือฟังเสียงลมหายใจโดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วยว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
   - feel 
คือสัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจาก ปากหรือจมูกอาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก
 
 

3.       ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นพร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็งเริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นตอนที่ 1 Airway
4.       ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจให้ทำขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนที่ 2 Breathing
5.       ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจรถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจเป่าปากอีก 2 ครั้งแล้วทำขั้นตอนที่ 3 cardiac massageด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาทีโดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ  จนถึง 30 ครั้ง
6.       ทำสลับกันอย่างนี้ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจรและประเมินอีกทุก 1 นาที
7.       ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีกให้แบ่งการทำหน้าที่กันเช่นผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอดผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กันโดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
 
8.       ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำ อุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติมและรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
 
การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
หลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจนกระทั่งผู้ป่วยมีชีพจรและหายใจได้เองแล้วแต่ยังหมดสติอยู่หรือพบผู้ป่วยหมดสติแต่ยังมีชีพจรและหายใจอยู่ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น (Recovery Position) ซึ่งท่านี้จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลักการจัดท่าทำได้ดังนี้
1.       นั่งคุกเข่าข้างๆผู้ป่วยทำ Head Tilt Chin Lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรงจับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้นดังภาพ
 
 
2.       จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง

 
3.       ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง

4.       จับศีรษะแหงนเล็กน้อยเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งปรับมือให้อยู่ใต้แก้มและจัดขาให้งอเล็กน้อย
 
 
 
 
อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี
1.       วางมือผิดตำแหน่งทำให้ซี่โครงหัก, Xiphoid หัก, กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญเช่นตับม้ามเกิดการตกเลือดถึงตายได้
2.       การกดด้วยอัตราเร็วเกินไปเบาไปถอนแรงหลังกดไม่หมดทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆที่สำคัญได้น้อยทำให้ขาดออกซิเจน
3.       การกดแรงและเร็วมากเกินไปทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้นลงอย่างรวดเร็วหัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
4.       การกดหน้าอกลึกเกินไปทำให้หัวใจชอกช้ำได้
5.       การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่เป่าลมมากเกินไปทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหารเกิดท้องอืดอาเจียนลมเข้าปอดไม่สะดวกปอดขยายตัวไม่เต็มที่ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อนมิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของการอุดตันของทางเดินหายใจ (Airway Obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผลเกิดการขาดออกซิเจนถ้ามีอาการท้องอืดขึ้นระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป
 
 
ที่มารูปภาพ  http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=14


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น