วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การช่วยฟื้นคืนชีพ 2


หลัก
ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญคือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ 

A – Airway                    :การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง

B – Breathing             :การช่วยให้หายใจ

C – Circulation           :การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
 
 
 
 
A – Airway (การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง)

เป็นการปฏิบัติการขั้นแรกที่ต้องทำอย่างรวดเร็วเนื่องจากโคลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift" มีวิธีการทำ ดังนี้

-         วางฝ่ามือบนหน้าผากผู้ป่วยและกดลงนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือพร้อมที่จะเอื้อมมาอุดจมูกเมื่อจะผายปอดมือล่างใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้เชยคางขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้บาดเจ็บที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก

-         ใช้มือกดหน้าผากเหมือนวิธีแรกส่วนมืออีกข้างหนึ่งช้อนใต้คอขึ้น วิธีนี้ทำได้ง่ายแต่ไม่ควรทำในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเพราะจะเกิดอันตรายต่อไขสันหลัง

-         ช้สันมือทั้งสองข้างวางบนหน้าผากกดลงแล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางจับบริเวณกราม (Mandible) ของผู้ป่วยขึ้นไปด้านหน้าซึ่งผู้ทำ CPR นั่งคุกเข่าอยู่ทางศีรษะของผู้ป่วยวิธีนี้ทำได้ยากแต่ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งดี
 
 
 ถ้าการหยุดหายใจเกิดจากลิ้นตกไปอุดตันทางเดินหายใจผู้ป่วยจะหายใจได้เอง
 และในขั้นตอนการเปิดทางเดินหายใจนี้ควรใช้เวลา 4 - 10วินาที
 

กรณีที่สงสัยว่ามีกระดูกสันหลังส่วนคอหักควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบนผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
 
 

B – Breathing (การช่วยให้หายใจ)

เนื่องจากหยุดหายใจร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือดแต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้นเมื่อหยุดหายใจจึงต้องช่วยหายใจเป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกายการตรวจดูการหายใจควรใช้เวลาเพียง3 - 5วินาทีทำได้โดยคุกเข่าลงใกล้ไหล่ผู้ป่วยผู้ให้การช่วยเหลือเอียงศีรษะดูทางปลายเท้าผู้ป่วยหูอยู่ชิดติดกับปากผู้ป่วยและฟังเสียงลมหายใจผู้ป่วย ตามองดูหน้าอกว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่หรือใช้แก้มสัมผัสลมหายใจจากผู้ป่ว การหายใจเข้า เป็นการที่ปอดพองตัวรับอากาศภายนอกเข้าทรวงอกจากนั้นปอดจะบีบตัวเอาลมที่ใช้แล้วออกทำให้เห็นทรวงอกเคลื่อนลงเล็กน้อยซึ่งการขยายขึ้นลงเป็นจังหวะจะสม่ำเสมอและนับการหายใจหนึ่งครั้งซึ่งการหายใจน้อย (ตื้น) หรือไม่หายใจจะต้องช่วยการหายใจในทันทีโดยการที่ผู้ทำ CPR สูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วเป่าเข้าสู่ผู้ป่วยโดยสามารถทำได้หลายวิธีคือด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) การเป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method)

1.       Mouth to mouth - ผู้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพควรนั่งข้างใดข้างหนึ่งใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของข้างที่กดศีรษะบีบจมูกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึกๆซัก 2-3 ครั้งหายใจเข้าเต็มที่ประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วยแล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอประมาณ800 มิลลิลิตร/ครั้งเพื่อให้ปอดขยายขณะทำการช่วยเหลือควรสังเกตว่าทรวงอกขยายออกแล้วรีบถอนปากรอให้ลมออกจากผู้ป่วยประมาณ1 - 15วินาทีแล้วเป่าซ้ำ
 



2.       Mouth to nose - การเป่าลมเข้าทางจมูกเป็นวิธีที่ดีกระทำได้เช่นเดียวกับการเป่าปาก ซึ่งในกรณีที่เปิดปากไม่ได้หรือมีแผลที่ปากหรือในเด็กเล็กให้ใช้มือด้านที่ เชยคางยกขึ้นให้ปากปิดแล้วเป่าลมเข้าทางจมูกแทนโดยต้องใช้แรงเป่ามากกว่าปาก เพราะมีแรงเสียดทานสูงกว่าณะเป่าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือจมูกจะต้องทำอย่างช้าๆปล่อยปากออกจากจมูกของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออกให้ผายปอด 2 ครั้งครั้งละ 1-1.5  วินาทีอัตราเร็วในการเป่าคือ 12 -15 ครั้ง / นาทีใกล้เคียงกับการหายใจปกติ
 
 
  
  
3.       Back pressure arm lift or Holger - Nielson methodวิธีนี้ใช้ได้ดีในกรณีที่ทำการผายปอดแบบเป่าลมเข้าปากโดยตรงไม่ได้เช่นผู้ป่วยกินสารพิษเช่นยาพิษยาปราบศัตรูพืชหรือผู้ป่วยมีบาดแผลฉกรรจ์บริเวณใบหน้าเป็นต้น

·        ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำงอข้อศอกทั้งสองข้างขึ้นไปวางมือข้างหนึ่งทับบนมืออีกข้างให้ศีรษะตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่งและแก้มกดอยู่บนหลังมือ

·        ผู้ช่วยเหลือหันหน้าเข้าหาผู้ป่วยคุกเข่าลงข้างที่ตนถนัดให้หัวเข่าชิดศีรษะและแขนของผู้ป่วยวางมือคว่ำลงบนหลังผู้ป่วยบริเวณต่ำกว่ากระดูกสะบักเล็กน้อยให้หัวแม่มือทั้งสองข้างจดกันนิ้วที่เหลือกางออกเป็นรูปผีเสื้อ

·        จังหวะ "กดหลัง" เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออกผู้ช่วยเหลือโน้มตัวไปข้างหน้าแขนทั้งสองเหยียดตรงให้น้ำหนักตัวทิ้งไปข้างหน้าช้าๆ

·        จังหวะ "ยกแขน" เป็นท่าทำให้ผู้ป่วยหายใจเอาอากาศเข้าโดยผู้ช่วยเหลือเอนตัวกลับสู่ท่าเดิมช้าๆ เลื่อนมือทั้งสองมาจับเหนือศอกของผู้ป่วยแขนผู้ช่วยเหลือเหยียดตรงอยู่ตลอดเวลายกแขนทั้งสองของผู้ป่วยขึ้นและดึงเข้ามาหาตัวผู้ช่วยเหลือจนรู้สึกว่าตึงเต็มที่จากนั้นจึงค่อยๆวางแขนของผู้ป่วยลงบนพื้นเหมือนเดิมเป็นอันครบรอบการผายปอดหนึ่งครั้ง

·        สำหรับผู้ใหญ่ให้ผายปอด 12 ครั้งต่อนาทีส่วนเด็กอาจผายปอดประมาณ 20ครั้งต่อนาที การโน้มตัวลงของผู้ช่วยเหลือแก่เด็กให้ลดแรงลงตามความเหมาะสม

 

การตรวจชีพจรเพื่อประเมินการไหลเวียนโลหิต คลำที่หลอดเลือดใหญ่ที่ตรวจง่ายคือหลอดเลือดแดงคาโรติด (อยู่ทางด้านข้างของลำคอนำเลือดไปเลี้ยงศีรษะ) โดยวางนิ้วโป้งและนิ้วกลางตรงช่องกระหว่างลูกกระเดือกหรือ Thyroid cartilage และกล้ามเนื้อคือSternomastoidสังเกตและนับจังหวะการเต้นของหลอดเลือดถ้ามีชีพจรอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้แต่ไม่หายใจให้ช่วยเฉพาะการหายใจถ้าไม่มีชีพจรหรือมีแต่ช้ามากเบามาก ให้ทำการช่วยการไหลเวียนต่อจากการช่วยหายใจทันทีโดยในการคลำชีพจรไม่ควรใช้ เวลาเกินกว่า 5 วินาที

 

C – Circulation (การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง)

ทำในรายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยการจับชีพจรที่ carotid artery ถ้าไม่พบว่ามีการเต้นของชีพจรให้ทำการกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage)เพื่อให้มีการไหลเวียนโลหิตโดยมีหลักการคือกดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลังซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอันถูกกดไปด้วยทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายเสมือนการบีบตัวของหัวใจ

วิธีนวดหัวใจ

1.       จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบบนพื้นแข็งถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตั

2.       วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัดวาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไปจนถึงปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือแล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าวและใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอ

3.       ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสองและลงไปสู่กระดูกหน้าอก ในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วยในผู้ใหญ่และเด็กโตกดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้วให้กดลงไปในแนวดิ่งและอย่ากระแทก

4.       ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัวและหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูงมือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอกอย่ายกมือออกจากหน้าอกจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกายและมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย

5.       การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาทีถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล

 
 
 
 
 
การส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องเฝ้าประเมิน สังเกตภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลาในกรณีที่ต้องทำ CPR ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรติดตามผลโดยการหยุดทำ CPR เพื่อจับชีพจรทุก2 – 3 นาทีและไม่ว่าโดยเหตุผลใดๆไม่ควรหยุดทำ CPR เกินกว่า5วินาทียกเว้นถ้าท่านเป็นผู้ทำ CPR เพียงคนเดียวและจำเป็นต้องโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลมาช่วย


 
ที่มารูปภาพ   http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=13
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น