การทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่รับความรู้สึก(sensory division) รับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกาย
2. ส่วนที่สั่งการ (motor division)
1. ส่วนที่รับความรู้สึก(sensory division) รับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกาย
2. ส่วนที่สั่งการ (motor division)
- ถ้าเป็นหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่นกล้ามเนื้อยึดกระดูกจัดเป็นระบบประสาทโซมาติก(SNS)
- ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ จัดเป็นระบบประสาทอัตโนวัติ (ANS)ระบบประสาทอัตโนวัติแบ่ง 2 ระบบ คือ
- ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ จัดเป็นระบบประสาทอัตโนวัติ (ANS)ระบบประสาทอัตโนวัติแบ่ง 2 ระบบ คือ
1) ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)
เซลล์ประสาทตัวแรก(preganglionic fibre) อยู่ที่ไขสันหลัง แล้วมีแอกซอนออกมากับเซลล์ประสาทสั่งการ แล้วแยกไปยังปมประสาทซิมพาเทติกบริเวณอกและเอว แอกซอนของเซลล์ประสาทตัวแรกจะปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
เป็นสารแอซิติลโคลิน โดย ภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง(postganglionic fibre) ซึ่งจะส่งแอกซอนไปยังอวัยวะภายในต่างๆ สารที่แอกซอนตัวที่สองปล่อยออกมาเป็นสารนอร์อะดรีนาลินหรือนอร์เอพิเนฟรินสารนี้เมื่อปล่อยออกมาจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีก ระบบประสาทซิมพาเทติกมักจะกระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน
เป็นสารแอซิติลโคลิน โดย ภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง(postganglionic fibre) ซึ่งจะส่งแอกซอนไปยังอวัยวะภายในต่างๆ สารที่แอกซอนตัวที่สองปล่อยออกมาเป็นสารนอร์อะดรีนาลินหรือนอร์เอพิเนฟรินสารนี้เมื่อปล่อยออกมาจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีก ระบบประสาทซิมพาเทติกมักจะกระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน
2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)
แยกออกจากสมองและไขสันหลังตอนสะโพก ทั้งเซลล์ประสาทตัวแรกและเซลล์ประสาทตัวที่สองของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะปล่อยสารสื่อประสาทเป็นแอซิติลโคลิน ระบบประสาทนี้มักจะยับยั้งการทำงานมากกว่าที่จะกระตุ้นการทำงาน เพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
ที่มา http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Nerve/nervous%20system(ANS).htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น