วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

ระบบประสาท การช่วยฟื้นคืนชีพ
ความเป็นมาของจังหวะ Cha-Cha-Cha
 
 
รายงานวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 6
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555
 
 
จัดทำโดย
 
1. นางสาวณัฐิกา   คล้ายสังข์   เลขที่ 1
2. นางสาววรกัลยา  ภัทรอมรจิตต์  เลขที่ 5
3. นางสาวอภิชญา   จรรยาวรลักษณ์  เลขที่ 6
4. นางสาวอิษฎา  ศีลพิพัฒน์  เลขที่ 8
 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10

ระบบประสาทส่วนกลาง-สมอง


ระบบประสาท

คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาทสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาก็จะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก

ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson5.php

ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลังโดยเส้นประสาทจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปแบบของกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลาง
มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.สมอง ชั้นนอกมีสีเทา(gray matter) เป็นส่วนของเชลล์ที่ไม่มีเยื้อไมอีลินห่อหุ้มชั้นในเป็นสีขาว (white matter) เป็นส่วนที่อยู่ของเส้นประสาทเเละมีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม สมองควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกายแบ่งออกเป็น3 ส่วน ดังนี้

1) สมองส่วนหน้า (forebrain)ประกอบด้วย


ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) สมองส่วนนี้ของคนไม่เจริญมาก จึงรับกลิ่นได้ไม่ดี เเต่ในปลาส่วนนี้เจริญมาก
เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น

ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองที่มีการเจริญมีขนาดใหญ่โตมากที่สุดมีเชลล์ประสาทมากมีหน้าที่การทำงานเกี่ยวกับ
ความคิดความจำเชาวน์ปัญญา การทำงานด้านต่างๆเช่น การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การได้ยินการทำงาน
ของกล้ามเนื้อ

ไฮโปทาลามัส (hypotalamus) มีขนาดเล็กเป็นบริเวณสำคัญที่ควบคุมขบวนการต่าง ๆของร่างกายเช่น ควบคุม
การทำงานของร่างกาย การเต้นของหัวใจการทำงานพื้นฐานของร่างกายเช่นน้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศสร้าง
ฮอร์โมนประสาท มาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่องใต้สมองส่วนหน้า

ทาลามัส (thalamus)ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมอง
ที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น
 
 
 



 
 
 












ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/46/2/nerve/content/forebrain.html

2) สมองส่วนกลาง (midbrain)มีหน้าที่ถ่ายทอดกระเเสประสาทจากสมองส่วนท้ายไปยังซีรีบรัม สมองส่วนกลางของสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำ เช่น ปลา จะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูง เช่นคน เเละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปจะมีขนาดเล็กตามวิวัฒนาการ

ออพติกโลบ(optic lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้
ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มี่แสงสว่างเข้ามากและน้อย



ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/46/2/nerve/content/midbrain.html

 
3) สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วยเซรีเบลลัม เมดัลลาออบลองกาตา และพอนส์


ซีรีเบลลัม (cerebellum) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่าคอร์เทกซ์มีสีเทา ชั้นในมีสีขาว
แตกกิ่่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน
ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
พอนส์ (pons) อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของเเถบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่าง
ซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัมและซีรีเบลรัมกับไขสันหลังทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า
ควบคุมการหายใจ
เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ ตอนปลายติดกับไขสันหลัง
สมองส่วนนี้มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่นๆทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน
ของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังควบคุมการเต้นของหัวใจ
การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจามการสะอึกการอาเจียน

 
 
 
                                              ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=sjyI4CmBOA0








ระบบประสาทส่วนกลาง-ไขสันหลังกับเซลล์ประสาท

 
ระบบประสาทส่วนกลาง (ต่อ)
2. ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจากสมองและกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรงถ้าตัดไขสันหลังออกตามขวางจะพบว่าแบ่งออกเป็น2 ส่วนคือส่วนที่เป็นสีเทากับ ส่วนที่เป็นสีขาว
1. เนื้อสีเทา (gray matter) อยู่ทางด้านใน มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อ เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทและใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มส่วนตรงกลางของไขสันหลังมีสีเทาซึ่งมีช่องในไขสันหลังเรียกว่าช่องกลวงตรงกลางไขสันหลังเป็นที่อยู่ของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังส่วนของไขสันหลังสีเทาที่ยื่นไปข้างหลังเรียกว่าปีกบน จะมีแอกซอนของเซลล์ประสาทพวกรับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆเข้าสู่ปีกบนทางรากบนของเส้นประสาทไขสันหลังส่วนไขสันหลังสีเทาที่ยื่นออกมาข้างหน้าเรียกว่า ปีกล่าง เป็นที่อยูู่ของเซลล์ประสาทสั่งการนำกระแสประสาทออกทาง
รากล่างของเส้นประสาทไขสันหลัง
ที่มา :http://www.thaigoodview.com/node/57873

2. เนื้อสีขาว (white matter) เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกเป็นพวกใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่หนาแน่นจึงมีสีขาวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างไขสันสันหลังกับสมอง
กลุ่มเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง 
2. กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract )
 
ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=LwuV5JbgCNk
3.เซลล์ประสาท เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่นๆแต่มีรูปร่างและลักษณะต่างออกไปเซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบคือ เดนไดรต์ (dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน(axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆจำแนกตามหน้าที่การทำงานได้3 ชนิดคือ
3.1 เซลล์ประสาทรับความรู้สึกรับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัสเช่นจมูกตาหูผิวหนังส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
3.2 เซลล์ประสาทประสานงานเป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมองไขสันหลังและ เซลล์ประสาทสั่งการพบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
3.3 เซลล์ประสาทสั่งการรับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลังเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ

 
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson5.php


การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง

                         สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลที่เส้นประสาทนำไปยังระบบประสาทส่วนกลางเรียกว่า กระแสประสาท เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอนแอกซอนส่วนใหญ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆแผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้นถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลงทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=FbJF8gijf8E

ระบบประสาทส่วนปลาย-เส้นประสาทสมองและไขสันหลัง



ระบบประสาทส่วนปลาย
เส้นประสาทสมอง สมองทุกส่วนมีเส้นประสาทสมองแยกออกมาเป็นคู่ๆ เพื่อรับสัญญานความรู้สึก และออก
คำสั่งควบคุมหน่วยปฏิบัติงาน


ที่มา www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1174

เส้นประสาทไขสันหลังคือ เส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง โดยการรวมกันของรากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root)กับรากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root)
- รากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้ามายังไขสันหลัง

- 
รากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root)ประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำคำสั่ง ทำหน้าที่นำกระแสประสาทหรือคำสั่งจากไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อม ต่างๆภายในร่างกายเส้นประสาทไขสันหลังในคนมีทั้งหมด 31 คู่ ประกอบด้วย เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ (cervical nerves) 8 คู่
บริเวณอก (
thoracic nerves) 12 คู่
บริเวณเอว (
lumbar nerves) 5 คู่
บริเวณกระเบนเหน็บ (
sacral nerves) 5 คู่ 
บริเวณกระดูกก้นกบ (
coccygeal nerves) อีก 1 คู่
ที่มา www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1174