คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาทสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาก็จะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson5.php
ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลังโดยเส้นประสาทจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปแบบของกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลาง
มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.สมอง ชั้นนอกมีสีเทา(gray matter) เป็นส่วนของเชลล์ที่ไม่มีเยื้อไมอีลินห่อหุ้มชั้นในเป็นสีขาว (white matter) เป็นส่วนที่อยู่ของเส้นประสาทเเละมีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม สมองควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกายแบ่งออกเป็น3 ส่วน ดังนี้
1) สมองส่วนหน้า (forebrain)ประกอบด้วย
|
ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) สมองส่วนนี้ของคนไม่เจริญมาก จึงรับกลิ่นได้ไม่ดี เเต่ในปลาส่วนนี้เจริญมาก เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองที่มีการเจริญมีขนาดใหญ่โตมากที่สุดมีเชลล์ประสาทมากมีหน้าที่การทำงานเกี่ยวกับ
ความคิดความจำเชาวน์ปัญญา การทำงานด้านต่างๆเช่น การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การได้ยินการทำงาน
ของกล้ามเนื้อ
ไฮโปทาลามัส (hypotalamus) มีขนาดเล็กเป็นบริเวณสำคัญที่ควบคุมขบวนการต่าง ๆของร่างกายเช่น ควบคุม
การทำงานของร่างกาย การเต้นของหัวใจการทำงานพื้นฐานของร่างกายเช่นน้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศสร้าง
ฮอร์โมนประสาท มาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่องใต้สมองส่วนหน้า
ทาลามัส (thalamus)ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมอง ที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
| | | | | | | |
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/46/2/nerve/content/forebrain.html
2) สมองส่วนกลาง (midbrain)มีหน้าที่ถ่ายทอดกระเเสประสาทจากสมองส่วนท้ายไปยังซีรีบรัม สมองส่วนกลางของสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำ เช่น ปลา จะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูง เช่นคน เเละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปจะมีขนาดเล็กตามวิวัฒนาการ
ออพติกโลบ(optic lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้
ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มี่แสงสว่างเข้ามากและน้อย
ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/46/2/nerve/content/midbrain.html
3) สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วยเซรีเบลลัม เมดัลลาออบลองกาตา และพอนส์
ซีรีเบลลัม (cerebellum) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่าคอร์เทกซ์มีสีเทา ชั้นในมีสีขาว
แตกกิ่่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน
ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
พอนส์ (pons) อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของเเถบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่าง
ซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัมและซีรีเบลรัมกับไขสันหลังทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า
เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ ตอนปลายติดกับไขสันหลัง
สมองส่วนนี้มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่นๆทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน
ของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังควบคุมการเต้นของหัวใจ
การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจามการสะอึกการอาเจียน
ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=sjyI4CmBOA0
| |
|
| | | | | | | |
| | | |
|